วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

วัสดุกราฟฟิค

ความหมายของวัสดุกราฟิควัสดุกราฟิค (Graphic Materials) หมายถึง ทัศนวัสดุที่ใช้สื่อข้อเท็จจริง และความคิดที่แสดงออกมาอย่างแน่ชัดโดยการวาด/เขียน ภาพ สัญลักษณ์ คำพูด และรูปภาพ บนแผ่นกระดาษ หรือวัตถุพื้นผิวเรียบ เพื่อเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความรู้ระหว่างครูกับนักเรียน
การวาด/เขียน ภาพ
: การเขียนแผนภาพ สเก็ตซ์ภาพ แผนสถิติ การ์ตูน
สัญลักษณ์
: การออกแบบโลโก้ เครื่องหมาย
คำพูด
: การสร้างตัวอักษรเพื่อทำไตเติ้ล ชื่อป้าย คำอธิบาย
รูปภาพ
ประเภทของวัสดุกราฟิควัสดุกราฟิคที่ใช้ในการเรียนการสอน แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้4.2.1 แผนสถิติ (Graphs) ใช้นำข้อมูลที่เป็นตัวเลข เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณ และเวลา หรือความสัมพันธ์ของข้อมูล 2 ชนิด แบ่งเป็น 1) แผนสถิติแบบเส้น ใช้เส้นแสดงข้อมูลที่ละเอียดถูกต้องรวดเร็วกว่าแบบอื่น ๆ 2) แบบสถิติแบบแท่ง ใช้แท่งแทนข้อมูลแต่ละชนิด ซึ่งขนาดของแท่งจะต้อง เท่ากัน ใช้ได้ดีในกรณีที่มีข้อมูลไม่มาก เป็นแบบที่ทำง่ายและอ่านง่าย 3) แผนสถิติแบบวงกลม แสดงข้อมูลทั้งหมดภายในวงกลม และแบ่งส่วนด้วยเส้นรัศมีตามปริมาณของข้อมูล ใช้เปรียบเทียบความแตกต่างหรือความสัมพันธ์ของข้อมูล ทั้งหมดในเวลาเดียวกันแต่ไม่ละเอียด 4) แผนสถิติแบบรูปภาพ ใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์แบบข้อมูล เร้าความสนใจดี แต่ไม่ละเอียด เพราะจะบอกข้อมูลโดยประมาณ 5) แผนสถิติแบบพื้นที่ ใช้พื้นที่ของรูปทรงเรขาคณิตต่าง ๆ เช่น สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม เพื่อใช้เปรียบเทียบข้อมูล 2-3 อย่าง ซึ่งผู้ดูจะเข้าใจได้เร็ว แต่มีรายละเอียดน้อยมาก4.2.2 แผนภาพ (Diagram) ใช้แสดงความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ หรือกระบวนการทำงานมีลักษณะเป็นนามธรรม เพราะมีรายละเอียดที่สำคัญ เหมาะใช้กับผู้เรียนที่เรียนในระดับสูงกว่าประถมศึกษา แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ 1) แผนภาพแบบลายเส้น 2) แผนภาพแบบรูปภาพ 3) แผนภาพแบบผสม4.2.3 แผนภูมิ (Chart) เป็นวัสดุที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ของข้อเท็จจริง ข้อมูลความรู้ เพื่อแสดงการเปรียบเทียบ พัฒนาการ กระบวนการ การจำแนก การวิเคราะห์ โดยมีรูปภาพ สัญลักษณ์ คำ หรือ ข้อความ ประกอบ แบ่งออกเป็น 8 ชนิดด้วยกันคือ 1) แผนภูมิแบบต้นไม้ : แสดงให้เห็นว่าสิ่งหนึ่งแยกออกได้เป็นหลายสิ่ง 2) แผนภูมิแบบสายธาร : กลับกับแบบต้นไม้ แสดงให้เห็นว่าสิ่งหนึ่งเกิดจาก หลายสิ่งมารวมกัน 3) แผนภูมิแบบต่อเนื่อง : แสดงลำดับขั้นการทำงาน การทำกิจกรรมตามลำดับ 4) แผนภูมิแบบองค์การ : แสดงความสัมพันธ์ของหน่วยงานภายในองค์การ หรือ ระหว่างองค์กร มักนิยมใช้เส้นโยงระหว่าง กรอบสี่เหลี่ยม 5) แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ: เปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่างแนวคิด รูปร่างลักษณะ ขนาดของสิ่งต่าง ๆ 6) แผนภูมิแบบตาราง : แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเวลากับเหตุการณ์ 7) แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ : แสดงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นไป ตามเวลา 8) แผนภูมิแบบอธิบายภาพ : มีลักษณะเป็นรูปภาพ และมีลูกศรชี้ส่วนต่าง ๆ ที่มี ตัวอักษรกำกับเพื่อให้ทราบว่าเป็นอะไร
4.2.4 ภาพโฆษณา (Poster) ใช้เพื่อประกาศ หรือจูงใจให้ผู้ดูกระทำตามหรือไม่ให้ กระทำตาม ภาพโฆษณาที่ดี จะต้องทำให้ผู้ดูจำง่ายและประทับใจอย่างรวดเร็ว การผลิตภาพโฆษณาจึงควรคำนึงถึง - การออกแบบให้มีลักษณะเด่น เร้าความสนใจ - ใช้ข้อความสั้น ๆ และภาพประกอบเป็นแบบง่าย ๆ - สีสะดุดตา ใช้สีตัดกัน แต่ไม่ควรเกิน 3 สี - ควรมีขนาดใหญ่ - แสดงจุดมุ่งหมายเพียงอย่างเดียว 4.2.5 การ์ตูน (Cartoon) เป็นทัศนวัสดุ ที่มีลักษณะเป็นภาพเขียนด้วยลายเส้น แสดง เฉพาะลักษณะเด่น ๆ เพื่อเลียนแบบกริยาท่าทางของมนุษย์ สัตว์ หรือสิ่งของ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราว ความคิดเห็น อารมณ์ หรือ ทัศนะของผู้เรียนไปยังตัวผู้ดูสามารถนำมาใช้ในการศึกษา การโฆษณา และความบันเทิงได้4.2.6 ภาพวาด (Drawing) เป็นการวาด หรือเขียน อาจเป็นภาพสี หรือภาพขาว-ดำ4.2.7 ภาพถ่าย (Photograph) เป็นภาพที่ถ่ายจากของจริง สถานที่จริง โดยใช้กล้องถ่ายภาพแบบต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งกล้องถ่ายภาพที่ใช้ฟิล์ม และผ่านกระบวนการล้าง อัด ขยายภาพ หรือ ใช้คอมพิวเตอร์ พิมพ์ภาพ ที่ได้มาจากการถ่ายภาพจากล้องระบบดิจิตอล4.2.8 ภาพพิมพ์ (Printing) เป็นภาพที่ผ่านกระบวนการพิมพ์ เช่นภาพโปสเตอร์ หนังสือ เอกสาร ปฏิทิน หรือนิตยสารต่าง ๆ4.2.9 สัญลักษณ์ (Logo) เป็นทัศนวัสดุที่ใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ แสดงหรือแทนตาม ความหมายของหน่วยงาน มีทั้งที่เป็นเครื่องหมาย รูปภาพ ตัวอักษร หรือการผสมผสานกัน

: ภาพสเก็ตซ์ ภาพถ่าย ภาพเขียน ภาพพิมพ์
เทคนิคในการสร้างภาพวิธีการสร้างภาพเพื่อใช้ในงานกราฟิคเพื่อการเรียนการสอน มีวิธีการสร้างภาพ และได้มาหลายวิธี คือ4.5.1 การใช้ภาพสำเร็จรูป จาก หนังสือ วารสาร สมุดภาพสำเร็จ รูปลอก ปฏิทิน ภาพชุดที่มีจำหน่ายทั่วไป4.5.2 การลอกภาพ เป็นการคัดลอกจากต้นฉบับที่มาจากสิ่งพิมพ์ โดยใช้กระบวนการต่าง เช่น ใช้กระดาษลอกลาย ใช้กระดาษคาร์บอน หรือการใช้แผ่นฉลุ สร้างแบบ และใช้ฝุ่นสี/ชอล์ค รูปภาพ รอยปรุ เป็นต้น4.5.3 การวาดภาพ เป็นการใช้ทักษะของผู้ผลิตงาน มากกว่าวิธีอื่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของภาพวาด เช่น การวาดภาพเหมือนจริง การวาดลักษณะท่าทาง การวาดภาพการ์ตูน การวาดภาพสัตว์ พืช ผัก ผลไม้4.5.4 การขยายและการย่อภาพ เป็นการสร้างภาพความต้องการและโอกาสการนำไปใช้ ซึ่งมีหลายวิธีการ เช่น 1) การใช้เครื่องฉายภาพ โดยใช้เครื่องฉายภาพทึบแสง เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ 2) การใช้เครื่องอัด-ขยายภาพ โดยใช้กับเนกาตีฟของภาพ แทนการสร้างภาพในห้องมืด (Darkroom) 3) การใช้แพนโตกราฟ ซึ่งเป็นเครื่องมือง่าย ๆ ทำด้วยโลหะ หรือ พลาสติก 4) การใช้วิธีสร้างตารางเป็นวิธีที่ง่ายและถูกที่สุด และใช้ได้ผลดี4.5.5 การวาดจากรูปถ่าย เป็นการใช้ภาพถ่ายมาสร้างภาพใหม่ เนื่องจากภาพถ่าย อาจไม่ตรงกับจุดมุ่งหมายทั้งหมด วิธีการทำก็คือ นำภาพถ่ายมาสร้างลายเส้นเฉพาะในสิ่งที่ต้องการโดยใช้ หมึกกันน้ำ เช่น หมึกเขียนแบบ แล้วนำไปแช่น้ำยาไอโอดีนที่เจือจาง เพื่อคัดสิ่งที่ไม่ต้องการออกไป แช่น้ำสะอาด น้ำยาคงสภาพ และแช่น้ำสะอาดอีกครั้งตามลำดับ หลังจากนั้นผึ่งให้ภาพแห้งก่อนนำไปใช้ได้ตามต้องการ

วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551